Share
วันนี้วันที่ 18 กุมภา 2015 ครับ ได้รถมาสองเดือนเต็มครับ ขับจริงๆ ก็เดือนกว่าๆ เพราะมัวแต่ไปขี่มอเตอร์ไซต์ เป็นส่วนใหญ่

แต่ด้วยความซนไปโหมวิ่งทำให้ เอ๊นเข่าอักเสบ อดขี่รถมาสามอาทิตย์ เลยเป็นโอกาสได้เอาน้อง Buboo ของผมมาขับแทบทุกวัน...
ขับไป ก็ลอง โน่น นี่ นั่น ตลอดว่า ทำอะไรได้บ้าง เลยได้รู้อะไรมากขึ้นหลายอย่างเกี่ยวกับ รถคันนี้
อย่างวันนี้ ใครจะไปนึกว่า กลางเดือนกุมภา ฝนจะเทลงมาห่าใหญ่ จนผมได้ใช้ที่ปัดน้ำฝน อันแสนจะอัจฉริยะ ของ Buboo
ที่ปัดน้ำฝนทั่วไป ก็ จะเป็นก้านอยู่ด้านซ้าย (ถ้ารถยุโรป ก็จะอยู่ด้านขวา) แล้วก็เลื่อนลงมาเพื่อปรับจังหวะ โดยส่วนใหญ่ก็จะมี จังหวะ ช้า (Lo) เร็ว (Hi) แล้วก็เป็นจังหวะ (INT) ซึ่ง จังหวะ ที่ว่าก็จะมีระดับ ช้าเร็วให้ปัด โดยการหมุดก้าน
ส่วนจังหวะแถมอีกอันคือ การฉีดน้ำแล้วปัดสองสามทีแล้วหยุด
เจ้า Buboo เป็น Elantra รุ่น GLS ซึ่ง จะเพิ่มในส่วนของ การปัดน้ำฝน แบบ Auto เข้ามาด้วย ซึ่งจะทำงานเมื่อเลื่อน ก้านมาที่ตำแหน่ง Auto โดย Buboo จะทำการปัดกระจกหนึ่งทีให้รู้ว่า ตอนนี้อยู่ใน Mode Auto นะฮะ ให้เราเห็น
การทำงาน จะทำงานร่วมกับ Sensor วัดน้ำที่อยู่ตกมาโดนกระจกครับ ถ้าตรวจเจอน้ำก็จะปัดให้ทันที ปัดกันจนแห้งน่ะครับ ไม่แห้งก็ไม่เลิก
จังหวะการปรับสามารถทำได้โดยการหมุนก้านครับ โดยมีระดับให้เลือกอยู่สี่ระดับ ตั้งแต่ ช้าสุด ไปจนเร็วสุด .. แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า นี่เป็นการปรับระดับ ความเร็วต่ำสุดในการปรับ
ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ เวลาที่ sensor เจอน้ำ ก็ จะปัดทันทีตามความเร็วที่ตั้งไว้ครับ ถึงแม้ว่า น้ำบนกระจกจะมีน้อย เพราะฝนตกปรอยๆ แต่ถ้าตั้ง speed ไว้ เร็วสุด มันก็จะปัดเร็ว .. เร็วจนผมเกรงว่ามันจะเหวี่ยงก้านปัดน้ำฝน กระเด็นออกไปโดนรถข้างๆ เลยทีเดียว ..
ผมเลยแนะนำให้ตั้ง Auto ไว้ที่ระดับ เบาสุดครับ เพราะ Sensor จะตัดสินใจ ปรับความเร็วให้เอง กรณีที่พบว่า ที่ปัดอยู่ช้าไป ปัดไม่เกลี้ยง และ จะลดความเร็วกลับมาที่จุดที่ตั้ง เมื่อ กระจกปัดได้สะอาดแล้ว และ ฝนยังตกอยู่
เป็นอีกหนึ่ง function ที่ผมถูกใจมากมายกับรถคันนี้ครับ

======
้เพิ่มเติม เทคโนโลยีของระบบ Rain Sensor
======
เทคโนโลยี การทำ Rain sensor ใช้ตัว Optical sensor ยิงมุม 45 องศา เข้าไปที่กระจำ (sensor จะแปะไว้ที่ กระจกหน้าด้านใน ใกล้ๆ กับกระจกมองหลัง
ตัว sensor จะทำการวัดค่า Moisture จากการที่ วัดการสะท้อนกลับของแสง ถ้ากระจกแห้งก็สะท้อนกลับเยอะ ถ้ามีเม็ดน้ำเกาะ ก็สะท้อนกลับน้อย และ ตีค่าว่า มีน้ำเกาะมากต้องปัด

ส่วน speed ก็วัดจาก การที่ Moisture สะสมมากขึ้นเร็วหรือไม่ หลังจากการปัด ถ้าปัด แล้วขึ้นทันทีก็จะปัดถี่ขึ้น .. แต่อย่างที่บอก ว่า ความเร็วในการปัดต่ำสุดนั้น เราสามารถตั้งได้เองครับ ....
ผมจำได้ว่า ตอนเรียน อาจารย์ มีเสนอให้ทำโปรเจคนี้ครับ .. ตอนนั้นมันยังไม่มีในโลก .. ยังนึกๆ อยู่เลยว่า จะทำยังไงมันถึงจะ work กับ budget ที่มีให้ในการทำ 5000 บาท